วิธีหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ด้วยตัวเอง
เมื่อคนในครอบครัวเจ็บป่วยและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ที่มีคุณภาพและไว้วางใจได้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับคนทำงานที่มีเวลาจำกัด บทความนี้จะแนะนำวิธีหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ด้วยตัวเอง รวมถึงข้อควรรู้เกี่ยวกับบริการเฝ้าไข้และการรับจ้างเฝ้าไข้
ทำไมต้องหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ด้วยตัวเอง?
ในปัจจุบัน มีหลายบริษัทที่ให้บริการจัดหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ แต่การหาด้วยตัวเองก็มีข้อดีหลายประการ:
ประหยัดค่าใช้จ่าย: ไม่ต้องเสียค่าบริการให้บริษัทจัดหา
มีอิสระในการเลือก: สามารถคัดกรองและเลือกผู้ดูแลที่เหมาะสมที่สุดได้ด้วยตัวเอง
สร้างความสัมพันธ์โดยตรง: สามารถพูดคุยและตกลงรายละเอียดกับผู้ดูแลได้โดยตรง
ขั้นตอนการหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ด้วยตัวเอง
1. เตรียมความพร้อม
เปิดใช้งานบัญชี Facebook และ LINE
เตรียมข้อความสำหรับประกาศหาผู้ดูแล
2. เขียนประกาศที่มีประสิทธิภาพ
ประกาศที่ดีควรระบุข้อมูลสำคัญดังนี้:
ลักษณะของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ - การระบุลักษณะของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ดูแลรู้ถึงสถานะการณ์หรือความต้องการพิเศษในการดูแล ตัวอย่างเช่น คุณยาย เพศหญิง อายุ 81 ปี น้ำหนัก52 กก. สูง 154 ซม. อัมพฤกษ์ ช่วยพลิกตัวได้ พูดรู้เรื่อง อารมณ์ดี ชอบฟังเพลง ดูแลง่าย ไม่มีแผลกดทับ ไม่ได้เจาะคอ ไม่ต้องดูดเสมหะ
วัน และเวลาที่ต้องการให้ดูแล - สำหรับการดูแลเฉพาะวัน เช่นการเฝ้าไข้เพียง 2-3 วัน เราจะต้องระบุวันและเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ดูแลได้ตรวจสอบคิวงานของตน และหากเป็นแบบรายเดือน เราก็ควรระบุเวลาที่ต้องการการดูแลด้วย ซึ่งอาจจะเป็นแบบ 24 ชั่วโมง คืออยู่กับตัวผู้ป่วยเลย หรือแบบไป-กลับ ตามชั่วโมงที่ต้องการ
หน้าที่หลักที่ต้องการให้ดูแล - ระบุหน้าที่หลักที่เราคาดหวังจากผู้ดูแล โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น การดูดเสมหะ การยกอุ้ม การจัดรายการยาจากคำสั่งหมอ
พิกัดสถานที่ - เราไม่จำเป็นต้องระบุสถานที่ที่ชัดเจน แต่เราควรจะระบุพิกัดที่ใกล้เคียง เช่นการระบุเขต หรืออำเภอ และจังหวัด
ราคาค่าดูแล - ระบุราคาค่าดูแล โดยอาจจะเป็นแบบรายวัน หรือรายเดือนตามที่ต้องการ ดูเรทค่าจ้างการดูแลที่เราได้รวบรวมไว้ในบทความนี้
ระบุช่องทางการติดต่อ - ระบุเบอร์โทรศัพท์หรือ LINE ไอดีเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถติดต่อคุณได้ โดยเฉพาะไลน์ไอดีที่จะเป็นการง่ายต่อการติดต่อ
กรณีที่เป็นการเฝ้าดูแล 24 ชั่วโมง หรือรายเดือน เราควรระบุด้วยว่าผู้ดูแลจะมีห้องพักอาศัยหรือไม่ และมีอาหารให้ผู้ดูแลด้วยหรือไม่
3. ประกาศหาผู้ดูแล หาคนรับจ้างเฝ้าไข้
ประกาศหาผู้ดูแลในกลุ่มต่างๆใน Facebook และ LINE โดยเราได้รวมรวบกลุ่มประกาศหาผู้ดูแลซึ่งจะมีดังนี้:
Facebook:
LINE:
4. คัดกรองผู้สมัคร
เมื่อมีผู้สนใจสมัครงานดูแล ควรพิจารณาดังนี้:
ตกลงหน้าที่และขอบเขตการดูแลให้ชัดเจน
แลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อและเบอร์โทรฉุกเฉิน (เช่นเบอร์โทรญาติหรือครอบครัว)
ขอหลักฐานสำคัญเช่น เอกสารยืนยันว่าตัวผู้ดูแลได้ผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง เช่น กรณีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver หรือ CG) จะมีใบประกาศนียบัตรที่แสดงว่าตนได้ผ่านการฝึกอบรมการดูแลผู้สูงอายุมาแล้ว
ตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด และ reference จากนายจ้างคนก่อนหน้า โดยเราควรจะโทรหานายจ้างคนก่อนเพื่อยืนยันคุณภาพการดูแล
ตัวอย่างของการประกาศหาผู้ดูแล เฝ้าไข้ ดูแลผู้สูงอายุ
เรามาดูตัวอย่างการประกาศหาผู้ดูแลกัน
ตัวอย่างที่ดี: มีการระบุวันเวลา เงื่อนไขการดูแล ราคาค่าดูแล และช่องทางการติดต่อ
ตัวอย่างที่ไม่ดี: ไม่ระบุรายละเอียดที่ชัดเจน ทำให้ไม่มีใครสนใจ (สังเกตุจำนวน Like และ Comment แม้จะผ่านมาหลายวัน)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับบริการเฝ้าไข้
บริการเฝ้าไข้มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว:
การเฝ้าไข้ระยะสั้น: สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลชั่วคราว เช่น หลังผ่าตัด
การเฝ้าไข้ระยะยาว: สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลต่อเนื่อง
การเฝ้าไข้แบบ 24 ชั่วโมง: ผู้ดูแลอยู่ประจำกับผู้ป่วยตลอดเวลา
การเฝ้าไข้แบบไป-กลับ: ผู้ดูแลมาทำงานตามเวลาที่กำหนด
ราคาค่าบริการเฝ้าไข้จะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของผู้ดูแล ระยะเวลา และความซับซ้อนของงาน โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 500-1,500 บาทต่อวัน สำหรับการดูแลแบบไป-กลับ และ 15,000-30,000 บาทต่อเดือน สำหรับการดูแลแบบ 24 ชั่วโมง
การรับจ้างเฝ้าไข้: สิ่งที่ควรรู้
หากคุณกำลังพิจารณาว่าจ้างผู้ที่รับจ้างเฝ้าไข้ ควรทราบว่าผู้ดูแลมักจะมีระดับความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน:
ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ (Nurse Assistant หรือ NA): ผ่านการอบรมพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver หรือ CG): มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และเด็ก
ผู้ช่วยพยาบาล (Practical Nurse หรือ PN): ผ่านการศึกษาด้านการพยาบาลเพื่อเป็นผู้ช่วยพยาบาล จะมีทักษะในการปฐมพยาบาลและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (ที่ไม่ใช่การสอดใส่เข้าร่างกายผู้ป่วย)
พยาบาลวิชาชีพ (Registered Nurse หรือ RN): มีใบประกอบวิชาชีพพยาบาล เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปฐมพยาบาลแบบปลอดเชื้อ หรือการใช้อุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย
เลือกผู้ดูแลให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย โดยพิจารณาจากอาการและความซับซ้อนของการดูแลที่จำเป็น
อ่านบทความเกี่ยวกับวิธีเลือกผู้ดูแลตามหน้าที่และขอบเขตการดูแลได้ที่บทความนี้
สรุป
การหาผู้ดูแลเฝ้าไข้ด้วยตัวเองอาจต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณได้ผู้ดูแลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนที่คุณรัก การเข้าใจกระบวนการหาผู้ดูแล รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริการเฝ้าไข้และการรับจ้างเฝ้าไข้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นคนทำงานที่มีเวลาจำกัดและต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น การใช้บริการแพลตฟอร์มจัดหาผู้ดูแลอย่าง Papai Platform อาจเป็นทางเลือกที่ดี เราช่วยคัดกรองผู้ดูแลที่มีคุณภาพและจับคู่ให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ช่วยประหยัดเวลาและลดความกังวลในการหาผู้ดูแลที่ไว้วางใจได้
ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีใด สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้ผู้ดูแลที่มีคุณภาพและไว้วางใจได้ เพื่อให้คนที่คุณรักได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด