หน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาล PN

อัพเดทล่าสุดวันที่ 18 กันยายน 2567
หน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาล PN

ผู้ช่วยพยาบาล หรือ Practical Nurse หรือ PN คือผู้ช่วยที่จะทำการพยาบาลตามที่พยาบาลวิชาชีพมอบหมายในการดูแลผู้ที่ต้องพึ่งพิงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยหน้าที่ในการพยาบาลของผู้ช่วยพยาบาล PN จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่าหน้าที่ของพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลจะมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้เกือบจะเทียบเท่าพยาบาลวิชาชีพ เว้นเพียงแต่การดูแลที่เกี่ยวข้องกับการสอดใส่อุปกรณ์ไปยังผู้ป่วยที่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านหัตถการโดยพยาบาลวิชาชีพ

โดยผู้ช่วยพยาบาล PN จะได้รับการศึกษาในหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล โดยจะใช้ระยะเวลา 1 ปีในการการศึกษาพยาบาล โดย 6 เดือนแรกจะเป็นการศึกษาในภาคทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาล ส่วน 6 เดือนหลังจะเป็นสารศึกษาภาคปฏิบัติจริงตามหน่วยงานของโรงพยาบาล ดังนี้ผู้ช่วยพยาบาล PN ที่ผ่านการศึกษามาแล้วจะมีประสบการณ์การทำงานดูแลผู้ป่วยมาก่อน นอกจากนี้ผู้ช่วยพยาบาล PN ที่ผ่านการศึกษาจะมีใบประกาศนียบัตรที่ยืนยันว่าตนได้จบการศึกษาหลักสู้ผู้ช่วยพยาบาลมาแล้ว

กลุ่มผู้ช่วยพยาบาล pn ที่แผนกโรงพยาบาล

หน้าที่หลักของผู้ช่วยพยาบาลตามสถานพยาบาล

หน้าที่หลักของผู้ช่วยพยาบาล PN ตามสถานพยาบาลจะเป็นงานที่ได้รับมอบหมายโดยพยาบาลวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วยตามความต้องการขั้นพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน โดยจะสามารถสรุปเป็นห้วข้อได้ดังนี้

  • ช่วยพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น

  • ช่วยเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย เช่น จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ

  • ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการในระยะไม่รุนแรง และไม่เป็นอันตราย

  • หากเป็นกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ช่วยพยาบาลจะคอยช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลภายใต้การกำกับตรวจสอบของพยาบาลวิชาชีพ

  • ตรวจวัดอาการผู้ป่วยเบื้องต้น เช่นการวัดสัญญาณชีพ

  • บันทึกการปฏิบัติงาน และรายงานอาการผู้ป่วย

  • ดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการให้บริการทางการพยาบาลหลังเสร็จสิ้นการใช้งาน

ทั้งนี้ หน้าที่หลักของผู้ช่วยพยาบาล PN จะขึ้นอยู่กับแผนกของโรงพยาบาลที่ตัวผู้ช่วยพยาบาลสังกัด เช่นแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) หน้าที่หลักของผู้ช่วยพยาบาล PN จะเป็นการต้อนรับคนไข้ จัดคิว ตรวจสอบสัญญาชีพ หรือหากเป็นแผนกห้องผ่าตัด (OR) ผู้ช่วยพยาบาล PN จะคอยช่วยแพทย์และพยาบาลจัดเตรียมอุปกรณ์ จับคนไข้ ซับเหงื่อให้แพทย์ เป็นต้น

ผู้ช่วยพยาบาล pn ดูแลคนไข้ผู้สูงอายุตามบ้าน

การดูแลเฝ้าไข้ผู้ป่วยตามบ้านโดยผู้ช่วยพยาบาล PN

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลตามบ้าน สามารถใช้บริการดูแลโดยผู้ช่วยพยาบาล PN ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน โดยความสามารถของผู้ช่วยพยาบาล PN ในการดูแลผู้ป่วยเฝ้าไข้ตามบ้าน จะมีดังนี้

  • การให้อาหารทางสายยาง

  • การดูดเสมหะ (suction) เคาะปอด พ่นน้ำเกลือเพื่อละลายเสมหะ

  • ให้ออคซิเจนเมื่อจำเป็น

  • การวัดปรอท สัญญาณชีพ วัดความดัน เจาะวัดน้ำตาลในเลือด

  • ฉีดอินซูลิน ฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือด

  • การอุ้มยก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะอยู่บนเตียง เก้าอี้ หรือรถเข็น

  • การชำระล้างทำความสะอาดผู้ป่วย ดูแลเรื่องปัสสาวะ อุจจาระ

  • การจัดเตรียมอาหารผู้ป่วย

  • การให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย

  • การสังเกตอาการ และศึกษาสาเหตุอาการผู้ป่วย

  • ดูแลจัดการยาและอาหารตามคำสั่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • ทำกายภาพเบื้องต้น

สรุป

ผู้ช่วยพยาบาล หรือ Practical Nurse (PN) มีบทบาทสำคัญในระบบสาธารณสุข โดยทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย ผู้ช่วยพยาบาลได้รับการศึกษาในหลักสูตร 1 ปีที่รับรองโดยสภาการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่หลักของผู้ช่วยพยาบาลในสถานพยาบาลครอบคลุมตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วย การเตรียมอุปกรณ์ การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง การวัดสัญญาณชีพ ไปจนถึงการบันทึกและรายงานอาการผู้ป่วย โดยการทำงานจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพยาบาลวิชาชีพ นอกจากนี้ ผู้ช่วยพยาบาลยังสามารถให้บริการดูแลผู้ป่วยที่บ้านสำหรับกรณีที่ไม่ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน เช่น การให้อาหารทางสายยาง การดูดเสมหะ การวัดสัญญาณชีพ และการทำกายภาพเบื้องต้น

ด้วยความสามารถที่หลากหลายและการฝึกอบรมที่เข้มข้น ผู้ช่วยพยาบาล PN จึงเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือทีมแพทย์และพยาบาล ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในสถานพยาบาลและที่บ้าน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพการบริการด้านสุขภาพโดยรวม

บทความที่เกี่ยวข้อง